ชื่อเรียกอื่น ๆ ของภาษาเหนือ

ชื่อเรียกภาษาเหนือ มีหลากหลายชื่อ แต่ละภาษาเรียกภาษาเหนือไม่เหมือนกัน มาดูกันว่าจะมีชื่อเรียกอะไรบ้าง คำเมือง กำเมือง คำเฉียง ลาวเฉียง

เราอาจจะเคยได้ยินชื่อภาษาเหนือมาหลายชื่อ แต่อาจจะไม่แน่ใจว่ามันคืออันเดียวกันหรือไม่ เพราะแต่ละคนเรียกก็เรียกไม่เหมือนกัน วันนี้เราก็เลยรวบรวมข้อมูลมาให้เพื่อน ๆ ทราบ เราจะได้รู้ทุกชื่อ ว่าแล้วก็ไปดูกันเลยว่าจะมี ชื่อเรียกภาษาเหนือ อะไรบ้าง

ชื่อเรียกภาษาเหนือ
ชื่อเรียกภาษาเหนือ

ภาษากลางที่ใช้ในราชการหรือภาษาไทยมาตรฐานเรียกภาษาเหนือว่า “ภาษาถิ่นพายัพ

  • ส่วนในภาษาถิ่นพายัพเอง เรียกภาษาของตัวเองว่า “กำเมือง” หรือ “คำเมือง” แปลว่า ภาษาของเมือง หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “ภาษาล้านนา” นอกจากนี้พบว่าชาวยวนในจังหวัดราชบุรี เรียกภาษาของตนเองว่า “ภาษาลาว
  • ภาษาไทยมาตรฐาน เรียกว่า “ภาษาถิ่นพายัพ” ตามที่ได้เกริ่นไปในตอนแรก หรือ “ภาษาถิ่นเหนือ” เรียกย่อ ๆ ลงมาเป็น “ภาษาเหนือ” หรือ “ภาษายวน” ในอดีตเรียกชื่อภาษาว่า “ลาวเฉียง” หรือ “คำเฉียง
  • ในภาษาลาว เรียกชื่อภาษาเหนือว่า “ภาษายวน” หรือ “ภาษาโยน” (ພາສາໂຍນ)
  • ในภาษาไทลื้อ เรียกชื่อภาษาเหนือของเราว่า “ก้ำโย่น” หรือ “คำโยน
  • ในภาษาไทใหญ่ เรียกชื่อภาษาเหนือของเราว่า “กว๊ามโย้น” หรือ “ความโยน
  • ส่วนในภาษาอังกฤษเราก็มีชื่อเรียกกับเขาเหมือนกัน “Northern Thai” หรือ “Kam Mueang

เป็นอย่างไรกันบ้างครับเพื่อน ๆ ได้ทราบชื่อภาษาเหนือของเราที่คนอื่นเขาเรียก บอกได้เลยว่าหลากหลายมาก ๆ ตอนแรก ๆ แอดมินเองก็งงอยู่เหมือนกัน เข้าใจว่ามันคือคนละภาษาจนกระทั่งมาสืนค้นหาข้อมูลจนถึงบางอ้อว่าที่มันไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละคนเรียกชื่อเราไม่เหมือนกันนั่นเอง ก็คงจะเหมือนที่เราเรียกชื่อเพื่อน บางครั้งก็ไม่ได้เรียกชื่อจริง ๆ เรียกเป็นฉายาก็มี นี่ก็เลยกลายมาเป็นที่มาที่ไปของเรื่องนี้นั่นเอง

หนุ่มเหนือ นอนหนาว
หนุ่มเหนือ นอนหนาว

คะเจ้าเป็นหนุ่มเหนือ จัดทำเว็บไซต์แห่งนี้ขึ้นมาด้วยความตั้งใจว่าจะรวบรวมคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นเหนือเอาไว้ เพื่อให้เพื่อน ๆ ที่สนใจเข้ามาศึกษาหาข้อมูล ถ้าเจอว่ามีคำไหนที่ไม่ถูกต้องสามารถแนะนำบอกกล่าวกันเข้ามาได้เลยเน้ออออ

Articles: 11

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *